วัดที่สำคัญในจังหวัดเพชรบุรี
Temple >>
Wat Yai Suwannaram (Wat Yai Suwannaram) (Phetchaburi) เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในพระอุโบสถงดงามด้วยภาพเขียนเทพชุมนุม เป็นจิตรกรรมฝาผนังอายุกว่า 300 ปี และประดิษฐานพระพุทธรูป 11 นิ้ว หนึ่งใน Unseen in Thailand จุดเด่นของวัดนี้คือ ศาลาการเปรียญ ซึ่งสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังลักษณะเป็นเรือนไทยขนาดใหญ่ 10 ห้องที่พระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชทานแด่พระสังฆราชชาวเพชรบุรี และสลักเสลาบานประตูลายก้านขดปิดทองไว้อย่างงดงามวิจิตร รวมทั้งมีร่องรอยถูกฟันที่บานขวาส่วนบน ซึ่งมีตำนานเล่าว่าเป็นรอยดาบของพม่าในสมัยสงคราม ยังมีหอไตรสามเสากลางสระน้ำรูปร่างแปลกตาแล้ว ก็ยังมีปูนปั้นพระนารายณ์ทรงครุฑที่หน้าบัน ลายพุ่มกระจัง ภายในอุโบสถเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง สุริโยทัย หน้าบันระเบียงคตรอบอุโบสถประดับด้วยเลข 5 ซึ่งหมายถึงรัชกาลที่ 5 แต่มีอยู่หนึ่งตัว ที่เป็นเลข 5 กลับด้าน ลองเดินสำรวจดูได้ว่าอยู่ตรงไหน สนใจสอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 032-412956, 032-412714 ตั้งอยู่ริมถนนพงษ์สุริยา ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ตั้งอยู่ริมถนนพงษ์สุริยา ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 1.5 กิโลเมตร วัดใหญ่สุวรรณาราม Phetchaburi Temple >> Wat Kamphaeng Laeng (Wat Kamphaeng Laeng) (Phetchaburi) เดิมเป็นเทวสถานในสมัยขอม สร้างตามลัทธิศาสนาพราหมณ์ ต่อมาเมื่ออิทธิพลของศาสนาพุทธได้แผ่ขยายเข้ามา จึงได้ดัดแปลงเทวสถานแห่งนี้เป็น ศาสนสถาน ในพุทธศาสนานิกายมหายาน และหินยาน ตามลำดับ เทวสถานเดิมมีปรางค์ 5 หลัง ทำด้วยศิลาแลง แต่ปัจจุบัน เหลือเพียง 4 หลังและยังคงปรากฏกำแพงที่ก่อด้วยศิลาแลงอยู่จนทุกวันนี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ลักษณะผังของปรางค์ปราสาทที่แตกต่างจากปรางค์แบบขอม ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือปกติปรางค์ประธานจะมี โคปุระ(ซุ้มประตู)และระเบียงคดล้อมรอบทั้งสี่ด้าน แต่ที่วัดกำแพงแลงไม่มีโคปุระ และระเบียงคด นอกจานนี้บนผนังศิลายังปรากฎลวดลายปูนปั้นศิลปะทวารวดี แทนที่จะเป็นการจำหลักหินตามแบบคติขอม ซึ่งแสดงว่าโบราณสถานแห่งนี้ไม่ได้สร้างขึ้นภายใต้การปกครองของขอม แต่น่าจะสร้างโดยฝีมือช่างพื้นเมือง ภาคกลางซึ่งได้รับอิทธิพลทางด้านรูปแบบศิลปะขอมมาปรุงแต่ง ตั้งอยู่บนมุมถนนพระทรง ตัดกับถนนโพธิ์การ้อง ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนมุมถนนพระทรง ตัดกับถนนโพธิ์การ้อง ห่างจากที่ว่าการอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร วัดกำแพงแลง Phetchaburi Temple >>
Wat Phra Song (Wat Phra Song) (Phetchaburi) เป็นวัดเก่าแก่ สมัยก่อนเป็นวัดที่มีครูช่างแขนงต่างๆ ที่มีความสามารถโดดเด่น เช่นช่างเขียน ช่างทำเมรุลอย ช่างไม้แกะสลัก จึงทำให้ภายในวัดนี้มี สิ่งก่อสร้าง และงานช่างที่วิจิตรบรรจง หน้าบันด้านหน้าและด้านหลังของโบสถ์เป็นไม้แกะสลักลายพรรณพฤกษา สวยงามคนละแบบอย่างหาที่ติไม่ได้ ส่วนมณฑปหลวงพ่อมี อยู่บริเวณด้านหลังของโบสถ์ มีลวดลายปูนปั้นแบบลอยตัวศิลปะร่วมสมัย ซึ่งมีความงดงามดุจภาพเคลื่อนไหว ด้านหน้าปั้นเป็นภาพจับแบบโขน เรื่องรามเกียรติ์ มีพระราม และหนุมานกำลังรบกับยักษ์ ล้อมรอบด้วยกระหนกเปลวเพลิง ด้านขวาปั้นเป็นรูปกินรี พร้อมทั้งลวดลายปูนปั้นเป็นรูปต้นไม้มีนกเกาะ เสมือนป่าหิมพานต์ และทางด้านซ้ายเป็นรูปหนุมานรบกับยักษ์ งดงามน่าชมนัก ตั้งอยู่ที่สี่แยก ถนนวัดพระทรงตัดกับถนนมาตยวงษ์ เยื้องสถานพยาบาล ผล กำเนิดศิริ ตั้งอยู่ที่สี่แยก ถนนวัดพระทรงตัดกับถนนมาตยวงษ์ เยื้องสถานพยาบาล ผล กำเนิดศิริ วัดพระทรง Phetchaburi Temple >>
Wat Koh Kaeo Sutharam *** (วัดเกาะแก้วสุทธาราม -อี๊ด) (Phetchaburi) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า วัดเกาะแก้วสุทธาราม เป็นวัดเก่าแก่มีสถาปัตยกรรมที่งดงาม มีชื่อเสียงในด้านภาพจิตรกรรมฝาผนัง และกุฏิเรือนไทย บานฝาประกนลูกฟักวัดเกาะกล่าวกันว่า งดงามที่สุดในประเทศไทย สันนิษฐานสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2277 ราวต้นๆศตวรรษที่ 18 ซึ่งตรงกับช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เพราะมีจารึกปี พ.ศ.ดังกล่าวไว้ในภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในโบถส์ซึ่งยังปรากฏให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้ ภายในโบถส์มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสมัยอยุธยา โดยผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเรื่องไตรภูมิ ผนังด้านหลังพระประธานเขียนรูปพุทธประวัติตอน มารผจญ ผนังด้านซ้ายเขียนเป็นรูปอัฎฐมหาสถาน ส่วนผนังด้านขวามือเขียนภาพสัตตมหาสถาน ภาพส่วนใหญ่มีสภาพสมบูรณ์สวยงามน่าชม ส่วนศาลาการเปรียญสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2431 ภายในมีภาพจิตรกรรมเขียนเป็นเรื่องทศชาติชาดก ซึ่งยังมีสภาพดีอยู่ ส่วนบริเวณเพดานจะมีดาวเพดาน ที่ออกแบบดัดแปลงมาจากอยุธยา จากลักษณะที่หนาทึบเป็นเพรียวบาง งดงามน่าชม และที่มุมเสาทั้งสี่ด้านของธรรมาสน์ที่อยู่บนศาลาการเปรียญ มีการแกะสลักลายกระหนกที่พลิ้วไหว บริเวณฐานแกะลวดลายมีครุฑแบกทั้งสี่มุม ในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์วัดเกาะ แสดงงานศิลปะ ข้าวของเครื่องใช้ที่น่าสนใจทำจากไม้ เช่น คันฉ่อง ตู้ฝังไม้โมก เครื่องลายคราม และพระพุทธรูป เป็นต้น วัดเกาัะแก้วหรือเรียกสั้นๆว่า วัดเกาะอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเพชรบุรีฝั่งตะวันออกของธนาคาร ริมแม่น้ำเพชร ที่มุมถนนบริพัตรตัดกับ ถนนพานิชเจริญ วัดเกาัะแก้วหรือเรียกสั้นๆว่า วัดเกาะอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเพชรบุรีฝั่งตะวันออกของธนาคาร ริมแม่น้ำเพชร ที่มุมถนนบริพัตรตัดกับ ถนนพานิชเจริญ Temple >> Wat Mahathat (Wat Mahathat) (Phetchaburi) วัดมหาธาตุแห่งนี้ เป็นปูชนียสถาน ที่เป็นแหล่งรวมของงานปูนปั้นอย่างวิจิตรของสกุลช่างเมืองเพชร โดยเฉพาะที่ประดับอยู่ตามพระอุโบสถ วิหารหลวง และศาลาภายใน ศิลปกรรมที่ปรากฎอยู่ในวัด ได้อิทธิพลมาจากศิลปะขอม อย่างพระปรางค์ห้ายอดที่โดดเด่น ซึ่งแต่ละองค์สร้างด้วยศิลาแลง ปรางค์องค์ใหญ่สูง 42 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว ภายในวิหารยังเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อ ที่ชาวเพชรเคารพนับถือถึงสามองค์ คือหลวงพ่อวัดมหาธาตุ หลวงพ่อบ้านแหลม และหลวงพ่อเขาตะเครา วัดมหาธาตุวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชร ใกล้สะพานจอมเกล้า จะเข้าทางถนนนอก หรือถนนดำเนินเกษมก็ได้ทั้งสองทาง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 500 เมตร วัดมหาธาตุวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชร ใกล้สะพานจอมเกล้า จะเข้าทางถนนนอก หรือถนนดำเนินเกษมก็ได้ทั้งสองทาง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 500 เมตร วัดมหาธาตุวรวิหาร Phetchaburi Temple >>
Wat Phra Non (Wat Phra Non) (Phetchaburi) วัดเก่าแก่นี้มีอีกชื่อว่า วัดพระนอน เป็นวัดที่สวยงามมีคุณค่าทางศิลปะ และมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารที่ไม่มีหลังคา จนมาถึง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จมาเมืองเพชร และทอดพระเนตรเห็น จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลังคาครอบไว้ หากปล่อยให้พระพุทธรูปตากแดดตากฝน อาจพังทรุดลงได้ ต่อมาจึงมีการบูรณปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ศิลปะสมัยอยุธยา ขนาดยาว 21 วา 3 ศอก ประมาณ 43 เมตร สร้างด้วยอิฐและปูนตลอดทั้งองค์ ลงรัก ปิดทองตลอดฝ่าพระบาท และทั้งองค์ในภายหลัง พระพุทธไสยาสน์องค์นี้มีลักษณะงดงาม และมีขนาดใหญ่ที่สุดของหนึ่งในสี่ในประเทศไทย มีภาพเขียนที่เป็นมงคลไว้ 108 ประการด้วย จึงทำให้มีผู้คนเดินทางมากราบไหว้มิได้ขาด วัดพระนอน Phetchaburi Temple >>
Wat Sa Bua (Wat Sa Bua) (Phetchaburi) เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยา มีความโดดเด่นของลวดลายปูนปั้นโบราณในส่วนต่างๆ ของพระอุโบสถ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ซุ้มทางเข้า มีการทำเป็นลักษณะ ยอดปราสาทที่หน้าบันพระอุโบสถ และบริเวณฐานชุกชี รวมถึงฐานเสมาล้วนได้ชื่อว่างดงามน่าชมทั้งสิ้น เป็นงานฝีมือของช่าง ในสมัยอยุธยาที่ยังคง สถาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด ในรายละเอียดที่จะกล่าวถึง บริเวณฐานของโบสถ์นั้นจะแอ่นลักษณะตกท้องช้าง หน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนปลาย ตรงกลางปั้นเป็ พระนารายณ์ขี่อสูร ลายประกอบด้านข้างเป็นกระหนกเปลวช่อหางโต ลวดลายงดงามยิ่ง ส่วนใบเสมาประดิษฐานรอบโบสถ์ทั้งแปดทิศ มีความสูงถึง 2.50 เมตร โดยลายปูนปั้นบริเวณฐานปั้นเป็นรูปยักษ์และคน 12 ชาติแบกใบเสมาไว้ทั้งสี่ด้าน ชั้นที 2 ปั้นเป็นรูปครุฑ ชั้นที่ 3 ปั้นเป็นรูปลายกระจังแบบ ดั้งเดิม มีความอ่อนช้อยงดงาม ชั้นที 4 ปั้นเป็นรูปดอกบัว ชั้นบนสุดเป็นใบเสมาคู่ขนาดใหญ่ นับเป็นงานที่หาชมได้ยาก ตั้งอยู่ที่ถนนศิริรัฐยา ติดกับวัดพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ที่ถนนศิริรัฐยา ติดกับวัดพุทธไสยาสน์ วัดสระบัว
Temple >>
Wat Phlapphla Chai (Wat Phlapphla Chai) (Phetchaburi) เป็นวัดเก่าแก่ที่น่าชมอีกวัดหนึ่ง โดยเฉพาะบุคคลที่สนใจประวัติศาสตร์และงานศิลปะไม่ควรพลาด เพราะวัดนี้มีงานแกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจง ของฝีมือช่างเมืองเพชร สมัยรัตนโกสินทร์ให้ชม เป็นพระอุโบสถมีชื่อเสียงในด้านความงดงาม ของบานประตูไม้แกะสลัก ด้านหน้าโบสถ์ทางทิศเหนือแกะเป็นเรื่องราวต่างๆ ในชาดก ทางทิศใต้แกะเป็นลวดลายกระหนกก้านขดสองชั้น ส่วนบานประตูด้านหลังโบสถ์ทางทิศเหนือแกะเป็นรูปป่าหิมพานต์ ทางทิศใต้แกะเป็นลายกระหนกเถาสองชั้น สำหรับบานหน้าต่างกลางแกะสลักเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ ส่วนหน้าต่างบานอื่นๆ แกะสลักเป็นลายดอกบัวปัทมาสน์ หนึ่งในไม่กี่แห่งเป็นแหล่งรวบรวมตัวหนังใหญ่ หรือพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ มีการจัดแสดงตัวหนังใหญ่เกือบ 40 ตัว ไว้ในวิหารตั้งอยู่ข้างโบสถ์ หนังใหญ่เหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งในจำนวนตัวหนังมากกว่า 300 ตัวที่หลวงพ่อฤทธิ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดพลับพลาชัย สร้างขึ้นเมื่อราว 100 ปีก่อน หนังใหญ่ชุดนี้ได้นำมาแสดงเป็นครั้งสุดท้ายในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเพชรคุณมุนี (กร) อดีตเจ้าอาวาสวัดนี้ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดเมื่อพ.ศ. 2490 ตั้งอยู่บนถนนดำเนินเกษม ใกล้กับวัดมหาธาตุวรวิหาร ตั้งอยู่บนถนนดำเนินเกษม ใกล้กับวัดมหาธาตุวรวิหาร วัดพลับพลาชัย
|
ไปยังเว็บใหม่ t-Globe?
ลงทะเบียนสมาชิกเพื่อได้รับข้อมูลทุกอย่างในเว็บไซด์
สมาชิกที่ลงทะเบียนจะสามารถ: |
|