อีเมล์ รหัสผ่าน จดจำในระบบ
This website is better viewed with
FIREFOX
or GOOGLE CHROME
Review www.t-globe.com on alexa.com

เทศกาลในสุราษฎร์ธานี



"ประเพณีชักพระหรือลากพระ"

จังหวัดสุราษฏร์ธานีได้มีงานประเพณีชักพระหรือลากพระ อาจจะเรียกว่างานบุญเดือน 11 ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับเทศกาลออกพรรษา  ซึ่งทางจังหวัดสุราษฎรธานีได้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำของทุกปี ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 และได้จัดให้มีการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ ณ ริมแม่น้ำตาปีขึ้นด้วยนักท่องเที่ยวจะได้พบกับการจัดทำพุ่มผ้าป่าและเรือพนมพระซึ่งมี “หนึ่งเดียวในโลก”









เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและสร้างความสามัคคี ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมสืบทอดประเพณีอันดีงาม ให้ยั่งยืนสืบไป มีการประกวด "เรือพนมพระ" ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีหนึ่งเดียวในโลก ในส่วนของ "รถพนมพระ" จะเป็นการประกวดชิงถ้วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี  นอกจากนี้  ยังมีการสืบสานประเพณี  ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย
และอีกหนึ่งบรรยากาศที่ท่านจะได้สัมผัสคือความสนุกสนานของขบวนลาก "เรือพระบก" ซึ่งในแต่ละขบวนจะมีการละเล่นที่ต่างกันออกไปเพื่อเพิ่มความสนุกและคึกคักและสวยงามโดยเดิมทีจะมีตัวไม้ใหญ่ 2 อัน วางรองเป็นที่ฐานบุษบกเพื่อใช้ลากพระ ในปัจจุบันได้ใช้รถยนต์แทนในการลากพระบก ส่วน "เรือพระน้ำ" จะเป็นแพโดยใช้เรือ 1-3 ลำ เป็นที่ตั้งของแพสำหรับลากไปในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล
"การทำพุ่มผ้าป่า"
ได้เกิดขึ้นควบคู่กันมาช้านานกับประเพณีชักพระ จนเรียกติดปากกันว่า"ประเพณีชักพระทอดผ้าป่า"ซึ่งในวันรุ่งขึ้นจะมีการลากเรือพระของจังหวัด ซึ่งแต่ละวัดในจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะนำเรือพระเข้ามายังอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และได้มีการจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ ประเพณีนี้เป็นพิธีหนึ่งทางพุทธศาสนาที่กระทำต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแต่ในสมัยนั้นการทอดผ้าป่าจะไม่ได้มีกำหนดเวลาแล้วแต่ใครมีศรัทธาจะทำเมื่อไรก็ทอดเมื่อนั้น
แต่ในบรรจุบันชาวบ้านจะออกมาจัดพุ่มผ้าป่าไว้ที่หน้าบ้านของตนโดยใช้ต้นไม้หรือกิ่งไม้ปักไว้อย่างสวยงามตั้งแต่หัวค่ำของคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 นอกจากจะมีต้นไม้หรือกิ่งไม้ไว้แล้วจะมีผ้าเหลือง 1 ผืน ห้อยไว้และมีสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ  นำมาผูกไว้ที่กิ่งไม้ด้วย เช่น ปิ่นโต ธูป เทียน ยาสีฟัน ไม้ขีด น้ำมัน และยังจัดเป็นซุ้ม ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก สวรรค์ นรก และอื่นๆ อย่างวิจิตรงดงามส่วนผู้ที่มีทุนน้อยก็จะจัดตามกำลังทรัพย์ของตน ซึ่งชาวบ้านจะทำขึ้นด้วยความเต็มใจและถือว่าเป็นการสานต่อวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบทอดประเพณีดีๆ ให้ดำรงมาถึงปัจจุบัน





"ประเพณีทำบุญเดือนสิบ" เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของคนใต้  ที่ถือปฏิบัติกันมายาวนานตั้งแต่โบราณมีขึ้นในช่วงกลางเดือนสิบ ประมาณเดือนกันยายน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ-วันแรม 15 ของทุกปี หรือเรียกกว่า "วันรับ-ส่งตายาย" ซึ่งถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีทั้งที่อยู่กันต่างที่ต่างภูมิลำเนาและยังแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

"วันรับตายาย" จะตรงกับแรม 1 ค่ำเดือน 10 วันนี้ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน  ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อมาแสดงถึงความกตัญญูแล้วยังทำพี่น้องได้พบปะสังสรรค์กันด้วย

"วันส่งตายาย" จะตรงกับแรม 15 ค่ำเดือน 10 วันนี้จะมีความสำคัญพอกัน แต่ในวันส่งตายายจะจัดเตรียมอาหารคาวหวาน ต่างๆ เป็นพิเศษ พร้อมของใช้ในครัวเรือนเพราะว่าชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีเชื่อว่าตายายจะนำกลับไปใช้ด้วย

"พิธีกรรม"
มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า นำอาหารถวายพระ ใส่บาตร แล้วยังอาหารอีกส่วนหนึ่งไปวางบนร้าน ที่เรียกกันว่า ร้านเปรตซึ่งสร้างแบบยกพื้นขึ้นมากลางลานวัด เพื่อให้ชาวบ้านและเด็กๆ เข้าแย่งอาหารหรือที่เรียกว่าชิงเปรตกัน

"ขนมที่นิยมทำกันในเดือน 10"
ขนมลา ขนมกรุบ ขนมจู้จุน ขนมบ้า ขนมไข่ปลา ยาหนม ขนมพอง ขนมต้ม และผลไม้ต่างๆ แล้วแต่ละท้องที่
หลังจากทำบุญกันในตอนเช้าเสร็จพิธีแล้วก็จะมีการบังสกุลบรรพบุรุษเป็นอันเสร็จพิธี





"สารทเดือนสิบ"
ประเพณีนี้มีจัดขึ้นในทุกท้องถิ่นทั่วไทย แต่ได้มีการเรียกชื่อต่างกันไปตามพิธีกรรมและวัฒนธรรมของแต่ละภาค
-  ภาคเหนือ เรียก กินก๋วยสลาก/ทานก๋วยสลาก/ตานก๋วยสลาก/ตานสลาก/กิ๋นข้าวสลาก
-  ภาคอีสาน เรียกบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก
-  ภาคกลาง เรียก สลากภัตรและสลากกระยาสารท
-  ภาคใต้ เรียก ประเพณีทำบุญเดือนสิบ หรือรับ-ส่งตายาย
"งานวันเงาะโรงเรียน"

จังหวัดสุราษฎร์ธานียังถือเป็นถิ่นกำเนิดของ “เงาะโรงเรียน” ที่มีทั้งรูปลักษณ์ สีสันสวยงาม รสชาติดี มีความหวาน หอมกรอบเนื้อล่อน ที่ใครๆ ต่างยกย่องให้เป็นเจ้าหญิงแห่งผลไม้ จนได้เป็นหนึ่งในคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า "เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ" งานวันเงาะโรงเรียน จะจัดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี เงาะโรงเรียนซึ่งถือว่าเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางจังหวัดได้จัดงานเพื่อนำผลิตผลเงาะโรงเรียนและผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ มาจัดแสดงและจำหน่ายแก่ผู้สนใจ นอกเหนือจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมและนิทรรศการทางการเกษตร การแสดงของสุนัขสงคราม กองบิน 71 การแข่งขันลิงขึ้นมะพร้าว การประกวดนกเขาใหญ่ การแข่งขันจักรยานสามล้อ การประกวดธิดาเงาะ การประกวดรถประดับด้วยผลเงาะและผลไม้ที่มีคุณภาพของทางจังหวัดอีกหลากหลายชนิด




"กีฬาพื้นเมือง กีฬาชนควาย"

กีฬาชนควายเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยเฉพาะในท้องที่อำเภอเกาะสมุยเป็นที่นิยมกันมากและมีลักษณะคล้ายกับกีฬาชนวัวของจังหวัดสงขลาการชนควายเริ่มมีขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบแต่ว่าสมัยที่เกาะสมุยขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชที่เกาะนี้มีควายมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การที่ราษฎรเห็นควายเพริดเที่ยวชนกัน ขวิดกัน จึงน่าจะเป็นต้นเค้าของการนำควายมาชนกันเกิดเป็นกีฬาชนควายอย่างเช่นปัจจุบัน


"การเลี้ยงควายชน"

จะต้องเลี้ยงดูอย่างพิถีพิกันเช่นเดียวกับการเลี้ยงวัวชน ควายต้องได้ออกกำลังสม่ำเสมอ ได้กินอาหารที่มีประโยชน์ และจะต้องได้มีโอกาสฝึกชนในบางครั้ง นอกจากนี้จะต้องระมัดระวังไม่ให้ใครเข้าใกล้ โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามในระยะเวลาใกล้ๆจะถึงเวลาที่จะชน เพราะอาจจะมีผู้วางยาทำให้เสียควายได้ ก่อนการชนจะมีการเปรียบคู่ชน โดยเจ้าของควายทั้งสองจะต้องไปดูควายของฝ่ายตรงข้าม หากไม่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันมากก็จะยินยอมให้ชนกันได้แต่เดิมการชนควาย ชนกันหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว สนามชนควายก็คือนาข้าวนั่นเอง ส่วนใหญ่จะนัดชนกันในโอกาสงานประจำปีของวัดต่างๆ หรืองานตรวจเลือกทหาร แต่ในปัจจุบันการชนควายในสนามทุ่งนาหมดไป เนื่องจากมีผู้เปิดบ่อนชนควายขึ้นซึ่งชนกันได้ทุกฤดูกาลเมื่อใกล้ถึงวันจะชน การดูแลรักษาควายจะต้องพิถีพิถันมากยิ่งขึ้น เจ้าชองต้องนำควายไปเลี้ยงดูใกล้ๆกับสนาม เมื่อถึงเวลาชนจะมีหมอไสยศาสตร์ของแต่ละฝ่ายทำพิธีกันอย่างเอาจริงเอาจัง พิธีจะหมดสิ้นลงเมื่อปล่อยควายเข้าชนกันแล้ว การชนจะยุติลงเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้วิ่งหนีออกจากสนามความเชื่อเกี่ยวกับ ควายชนก็เหมือนๆกับวัวชน คือเชื่อเรื่องลักษณะของควายที่มีลักษณะต้องตามตำราว่าจะได้เปรียบควายคู่ชน ที่มีลักษณะด้อยกว่า และควายที่มีลักษณะดีจะนำความเป็นศิริมงคลมาสู่ผู้เลี้ยง นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออื่นๆอีกมากการชนควายมีชนกันทั่วไปในอำเภอที่มีการ ทำนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ที่มีชนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็เฉพาะที่อำเภอเกาะสมุยเท่านั้น

เทศกาลงานประเพณี

Chak Phra Festival (Thod Pha Pa) (งานประเพณีชักพระทอดผ้าป่า) (SuratThani)


Makham Tia, Surat Thani 84000

Chak Phra Festival at Daytime (ประเพณีชักพระ กลางวัน) (SuratThani)

The Chak Phra Festival commemorates the return of the Buddha to earth from heaven and his greeting by the crowds. Chak Phra takes place annually after the end of the 3 month rain retreat in October. It is celebrated all over the south but in Surat Thani it is the biggest. It is Chak Phra Festivals on land and on the Tapi River. Before Chak Phra Day, on the night there are build the screen of Buddha's story around the city and celebrate its all day all night. On land, the splendidly adorned floats are pulled across the town by the participants. At the same time, on water a float decorated in colorful Thai design of a float made to carry the Buddha image. Chak Phra Festivals then concludes with an exciting boat race and traditional games.

Makham Tia, Surat Thani 84000

Chak Phra Festival at night (ประเพณีชักพระ กลางคืน) (SuratThani)


Makham Tia, Surat Thani 84000

Chak Phra Festivals on the Tapi (ประเพณีชักพระในแม่น้ำตาปี) (SuratThani)


Makham Tia, Surat Thani 84000

Nasarn School Rambutan (เงาะโรงเรียนนาสาร) (SuratThani)


Nasarn, Surat Thani

Buffalo Fighting
>>
Buffalo Fighting Samui - Attractions
Buffalo Fighting Samui (สนามชนควาย สมุย) (MaeNam)
80 400 Baht


Mae Nam, Koh Samui, Surat Thani 84330

ไปยังเว็บใหม่ t-Globe?
ลงทะเบียนสมาชิกเพื่อได้รับข้อมูลทุกอย่างในเว็บไซด์
ชื่อ
อีเมล์
รหัสผ่าน
ยืนยันรหัสผ่าน

สมาชิกที่ลงทะเบียนจะสามารถ:
  • การใช้งานเชิงโต้ตอบt-Maps
  • ดูธุรกิจละแวกใกล้เคียง
  • พิมพ์ คู่มือท่องเที่ยวรูปแบบไฟล์ PDF
  • ได้รับคูปองส่วนลดสำหรับโรงแรมร้านอาหารและบริการอื่น ๆ
  • จดบันทึก และบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
  • ติดตามการเยี่ยมชมหน้าเว็บ