อาหารพื้นบ้าน
อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่บริโภคอยู่ในชีวิตประจำวันและบริโภคในโอกาสพิเศษ ต่างๆ โดยอาศัยเครื่องปรุง วัสดุที่นำมาประกอบอาหารจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากแหล่งธรรมชาติที่แวดล้อมอยู่ ด้วยการเก็บของป่า การล่าสัตว์ การจับสัตว์น้ำและจากการผลิตขึ้นมาเอง เช่น การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ หรือจากการซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยมีกรรมวิธีทำเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งรสชาติที่เป็นเฉพาะถิ่นแตกต่างกันไปและเป็นอาหารที่บริโภคในโอกาสต่างๆ เช่น อาหารในช่วงประเพณีทางศาสนา ประเพณีการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานบวช และอาหารในช่วงของการเปลี่ยนแปลงของชีวิตหรือยามเจ็บป่วยซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีการเรียกแตกต่างกันไป
ผัดไทยท่าฉางและผัดไทยไชยา หรืออาจจะเรียกรวมกันว่า
“ผัดไทยสุราษฎร์ธานี” อำเภอท่าฉางและอำเภอไชยา เป็นอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้ง 2 อำเภออยู่ติดกันและอยู่ด้านเหนือของตัวเมืองสุราษฎร์ธานีใน ย่าน 2 อำเภอนี้ จะมีอาหารพื้นบ้านเป็นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กผัดที่ใส่กะทิ คล้ายๆ กับผัดไทยชาวบ้านเลยเรียกว่า ผัดไทยท่าฉางและผัดไทยไชยาหรือ ผัดไทยสุราษฎร์ธานีเป็นผัดไทยที่มีความแตกต่างกับผัดไทยภาคกลาง เพราะจะใส่น้ำกะทิ พร้อมทั้งเครื่องแกง ได้แก่ หอมแดง พริกแห้ง ปรุงรสโดย น้ำตาลปึก มะขามเปียก เกลือ จึงมีรสเผ็ดเล็กน้อย อาจจะใส่ เต้าหู้ หรือกุ้งเป็นเครื่องเคียงด้วยก็ได้ทานพร้อมผักแนม
ปลาเม็ง ชื่อจริงของปลาเม็งคือ
“ปลาจีด”แต่ทางภาคใต้เรียกว่า
“ปลาเม็ง”เป็นปลาน้ำจืดลักษณะคล้ายกับปลาดุกแต่ตัวเล็กกว่า เป็นปลาที่หายากและมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ปลาเม็งในอดีตอาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำคลองหนองบึงในประเทศไทยมีเฉพาะภาคใต้พบมากที่
จั ง ห วั ด สุ ร า ษ ฎ ร์ ธ า นี อำเภอบ้านนาสาร พระแสงและเคียนซา ปัจจุบันปลาเม็งกลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญยำปลาเม็งเกิดขึ้นที่ร้านอาหารไทยจีนเก่าแก่อายุกว่า 40 ปีมีชื่อว่า “ซินฮั้วล้ง” ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟนาสาร เลขที่ 62 ถ. นาสารนอก ต. นาสาร อ. บ้านนาสาร จ. สุราษฎร์ธานี คุณชุตินัน ชินธเนตร เจ้าของร้านได้ไปกินอาหารยำปลาจานหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายปลาเม็งแล้วติดใจ จึงเกิดความคิดนำปลาเม็งซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านมาปรุงอาหารจำหน่ายบ้างโดยนำปลาเม็งมาลอกเอาหนังไปรมควัน แกะเอาก้างตรงกลางออกแล้วนำไปตากแดดให้แห้งจากนั้นนำไปทอดไฟแรงจัดจนกรอบได้เนื้อปลาที่มีกลิ่นหอมเฉพาะ จากนั้นนำมาคลุกเคล้ากับน้ำยำประกอบไปด้วยพริกขี้หนูสดทุบพอแตก ใส่น้ำปลา น้ำมะนาว แล้วใส่ผักสดเครื่องยำอาทิกระเทียม หอมใหญ่ซอย มะม่วงสดซอยเมื่อรับประทานแล้วต้องร้องว่า “ขออีกจาน” จนยำปลาเม็งกลายเป็นเมนูเด็ดขึ้นชื่อของร้านซินฮั้วล้ง และเป็นคำขวัญของอำเภออีกด้วยปลาเม็งมีราคาสูงมากปลาเป็น กิโลกรัมละ 800 บาท ถ้านำมาตากแห้งหรือรมควันราคากิโลกรัมละ 3,000 บาท
โล้งโต้ง คือ ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่น้ำใสใส่กระดูกหมู ขาหมูเป็นชิ้นๆ ลูกชิ้น ปลาแผ่น กุ้งชุบแป้งทอดและต่างตรงที่เครื่องปรุงบางอย่างและเป็นสูตรเด็ดแบบดั้งเดิมของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งมีให้ทานและถ้าถามคนสุราษฎร์ใครๆ ก็รู้จัก และเป็นอาหารพื้นบ้านซึ่งถ้ามีโอกาสไปเที่ยวสุราษฎร์ธานีต้องลองชิมดู
พระรามลงสรง คือ อาหารจานเดียว อาจเป็นข้าวสวย หรือเส้นหมี่ ราดหน้าผักบุ้งลวก หมูเนื้อแดงหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ลวกสุก น้ำแกงข้น น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ ทานกับน้ำส้มพริกดอง ถ้าชอบเค็มเติมน้ำปลา รสอร่อยที่แปลกออกไป
เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแกเป็นเห็ดที่ขึ้นได้ทั่วทุกภูมิภาคทั่วโลกและงอกได้ตลอดปีเป็นเห็ดขนาดเล็กลักษณะคล้ายเปลือกหอยแครงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-4 เซนติเมตร รูปร่างคล้ายพัดไม่มีก้านดอกเป็นที่รู้จักมากในภาคใต้พบมากบนท่อนไม้ยางพาราที่ตัดทิ้งไว้ มีคุณค่าทางโภชนาการนิยมนำมาแกงคั่วกับปลาย่างหรือนำมาย่างไฟแล้วโขลกผสมพริกขี้หนู ข่า ตะไคร้ ขมิ้น พริกไทย แล้วนำเห็ดแครงผสมลงไปพร้อมด้วยมะพร้าวขูดและไข่ไก่แล้วห่อด้วยใบตองนำไปปิ้งกับเตาถ่านและนำมาทำ แกงสมรม ซึ่งเป็นแกงที่ขาดไม่ได้ สำหรับงานบุญสารทเดือนสิบ
สาหร่ายข้อ หรือสาหร่ายเขากวาง มีลักษณะเป็นข้อๆ ต่อกัน จึงเรียกกันว่า สาหร่ายข้อ เป็นสาหร่ายที่ขึ้นอยู่ริมโขดหินน้ำตื้น นิยมนำมายำกับกะปิเล็กน้อย ใส่หอยแครงลวกสุกยำรวมกัน มีกินที่สมุยและพะงัน สาหร่ายไม่มีกลิ่นคาว
หอยนางรมสุราษฎร์ธานี เป็นที่รู้จักกันอย่างดีดั่งคำขวัญของจังหวัดและยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักบริโภคว่า เป็นอาหารทะเลที่รสชาติขึ้นชื่อหอยนางรมมี 2 ชนิด คือ ชนิดพันธุ์เล็กเรียกว่าหอยเจาะและชนิดพันธุ์ใหญ่เรียกว่าหอยตะโกรมลักษณะเป็นหอยมี 2 ฝา พบทั่วไปบริเวณน้ำตื้นชายฝั่งหอยนางรมจะออกวางไข่ตลอดปีแต่จะพบมากในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน หอยนางรมจะวางไข่ครั้งหนึ่งประมาณ 1-9 ล้านฟอง
กุ้งแม่น้ำตาปี ก็คือ กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีเปลือกสีเขียวอมฟ้าหรือม่วง ก้ามยาวมีม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำโดยธรรมชาติจะอยู่ในแม่น้ำตาปีของจังหวัดสุราษฎร์สามารถ อยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน ตัวอ่อนของลูกน้ำ ลูกไร ลูกปลาขนาดเล็ก ซากของสัตว์ต่างๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะในฤดูหนาว กุ้งแม่น้ำตาปี ความยาวประมาณ 13 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1 ฟุต น้ำหนักราว 1 กิโลกรัม เป็นกุ้งที่ถูกใช้ปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเพราะเนื้อมีมาก เนื้อแน่น มัน อร่อย
น้ำพริกตะลิงปลิงกุ้งเผา น้ำพริกตะลิงหรือที่รู้จักกันในภาษาท้องถิ่นของเกาะสมุย(สุราษฎร์ธานี) ว่า
"น้ำพริกมุงมัน" ที่มีส่วนผสมหลักคือผลตะลิงปลิงซึ่งเป็นผลไม้พื้นบ้านของจังหวัดสุราษฎร์ มีรสชาติเปรี้ยวแต่หอมกว่ามะนาว สามารถนำมาทำอาหารได้หลายเมนู แต่เมนูที่เป็นที่นิยมของชาวสุราษฎร์ก็คือน้ำพริกตะลิงปลิงกุ้งเผาซึ่งสามารถทำได้โดยนำกุ้งแม่น้ำมาเผาให้สุก แยกมันกุ้งส่วนหัวไว้ ส่วนเนื้อกุ้งหั่น หรือฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ โขลกกะปิกระเทียมให้เข้ากัน ใส่พริกขี้หนูลงโขลก 5 เม็ด ใส่ตะลิงปลิง และมะเขือเปราะ ที่หั่นไว้ ลงปรุงรสด้วยน้ำตาล ชิมให้ได้รสที่ต้องการ ถ้าอ่อนเปรี้ยวบีบมะนาว อ่อนเค็มเติมน้ำปลาลงตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลง 3 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำพริกในข้อ 2 ลงผัดสักครู่ ใส่มันกุ้งที่แยกไว้ลงผัด ตักใส่จาน โรยด้วยเนื้อกุ้งเผาที่ฉีกไว้ รับประทานกับผักต่างๆ หรือใช้เป็นน้ำจิ้มกินคู่กับกุ้งแม่น้ำตัวโตๆ สดเผา