อีเมล์ รหัสผ่าน จดจำในระบบ

This website is better viewed with
FIREFOX
or GOOGLE CHROME
Review www.t-globe.com on alexa.com

เทศกาลและงานประเพณีในจังหวัดสุราษฎร์ธานี



Chak Phra Festival (Thod Pha Pa) (งานประเพณีชักพระทอดผ้าป่า) (SuratThani)

การจัดพุ่มผ้าป่าเป็นการจำลองพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแสดงออกเป็นตอนๆ ด้วยการนำต้นไม้หรือกิ่งไม้ ประดับกับหลอดไฟสีต่างๆ บ้างก็จะจัดอุปกรณ์อื่นร่วมประกอบฉาก ทั้งการเขียนภาพ ปั้นรูปดินเหนียว และตกแต่งด้วยเครื่อง อัฐบริขาร เพื่อในเช้าวันรุ่งของวันออกพรรษาจะได้นิมนต์พระมาทำพิธีทอดผ้าป่า การจัดพุ่มผ้าป่ามีทั้งหน่วยงานในจังหวัด ทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมกิจกรรม และมีการประกวดกันด้วยงานประเพณีนี้จัดขึ้นบริเวณเขื่อนลำน้ำตาปีตั้งแต่บริเวณศาลหลักเมืองจนกระทั่งถึงโรงแรมวังใต้

ต.มะขามเตี้ย อ.เมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี 84000

Chak Phra Festival at Daytime (ประเพณีชักพระ กลางวัน) (SuratThani)

ประเพณีชักพระทอดผ้าป่าและแข่งขันเรือยาวของจังหวัดสุราษฏร์ธานี ที่นี่มีอีกชื่อหนึ่งก็คือ >>งานเดือนสิบเอ็ด<< ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับเทศกาลออกพรรษา ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 มีกิจกรรมที่สำคัญได้แก่การประกวดเรือพระ ซึ่งจะมีทั้งรถพนมพระ และเรือพนมพระ ซึ่งรถและเรือพนมพระ อาจจะตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลัก หรือฉลุไม้ ตกแต่งจำลอง เสมือนฉากที่พระพุทธเจ้ากลับมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึง ในงานพิธีจะใช้คนลาก เชื่อว่าผู้ที่ได้ร่วมลากจูงรถหรือเรือพนมพระจะได้อานิสสงค์หลายประการ

การจัดพุ่มผ้าป่าเป็นการจำลองพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าแสดงออกเป็นตอนๆ ด้วยการนำต้นไม้หรือกิ่งไม้ ประดับกับหลอดไฟสีต่างๆ บ้างก็จะจัดอุปกรณ์อื่นร่วมประกอบฉาก ทั้งการเขียนภาพ ปั้นรูปดินเหนียว และตกแต่งด้วยเครื่อง อัฐบริขาร เพื่อในเช้าวันรุ่งของวันออกพรรษาจะได้นิมนต์พระมาทำพิธีทอดผ้าป่า การจัดพุ่มผ้าป่ามีทั้งหน่วยงานในจังหวัด ทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมกิจกรรม และมีการประกวดกันด้วยงานประเพณีนี้จัดขึ้นบริเวณเขื่อนลำน้ำตาปีตั้งแต่บริเวณศาลหลักเมืองจนกระทั่งถึงโรงแรมวังใต้


ต.มะขามเตี้ย อ.เมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี 84000

Chak Phra Festival at night (ประเพณีชักพระ กลางคืน) (SuratThani)

งานประเพณีชักพระทอดผ้าป่าและแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน ซึ่งจะจัดขึ้น ณ บริเวณริมเขื่อนแม่น้ำตาปี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยประเพณีชักพระ-ทอดผ้าป่า ถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่ได้รับการสืบทอดและจัดต่อเนื่องมากกว่า 100 ปี วัตถุประสงค์ในการจัดงานประเพณีดังกล่าวนี้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นให้คงไว้สืบไป
กิจกรรมภายในงานประเพณีชักพระ-ทอดผ้าป่า นักท่องเที่ยวจะได้ชมความงดงามของการแห่รถ-เรือพนมพระจากวัดต่างๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีกว่า 100 วัด อีกทั้งจะมีการชักพุ่มผ้าป่าพร้อมกันทั่วเมือง, ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร, การแสดงบนเวที, ชมการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นับได้ว่าเป็นบุญอีกหนึ่งแห่งที่จัดขึ้นในช่วงเทศกาลออกพรรษา เพื่อเป็นการร่วมสืบสานประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่สืบไป จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ เที่ยวงานประเพณีชักพระทอดผ้าป่าและแข่งเรือยาวชิงถ้วยพระราชทาน

ต.มะขามเตี้ย อ.เมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี 84000

Chak Phra Festivals on the Tapi (ประเพณีชักพระในแม่น้ำตาปี) (SuratThani)

สายน้ำตาปี มีการจัดขบวนแห่เรือพระ หรือชักพระทางน้ำล่องมาตามแม่น้ำตาปีเพื่อให้ประชาชนริมฝั่งแม่น้ำได้ร่วมมัสการ การแข่งขันเรือยาว ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประเภท 55-50 ฝีพาย ประเภท 30 ฝีพาย และการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยนายกเทศมนตรีนครสุราษฎร์ธานี ประเภท 20 ฝีพาย และประเภท 8 ฝีพาย ส่วนในตอนกลางคืนจะมีการแสดงแสง สี เสียง บนพื้นน้ำแม่น้ำตาปีมีการจุดพลุ เป็นประจำทุกคืนอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ บนถนนสายวัฒนธรรมจะมีอาคารแสดงหนัง 3 มิติ โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ห้อง
- ห้องแรกจะกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ห้องที่สองจะเล่าขานตำนานงานชักพระจังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ห้องที่สามจะเป็นบทสรุปในการฉายหนัง 3 มิติ เรื่องพระพุทธเจ้าโปรดพระมารดา สู่งานชักพระฯ สุราษฎร์ธานี

ต.มะขามเตี้ย อ.เมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี 84000

Nasarn School Rambutan (เงาะโรงเรียนนาสาร) (SuratThani)

เงาะโรงเรียนนาสาร ถือว่าเป็นเงาะโรงเรียนที่อร่อยที่สุดและขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในผลไม้โปรดของใครหลายๆ คน
เงาะโรงเรียนนาสาร มีรสชาติที่หวานกรอบ ผลสีแดงเข้มปลายขนสีเขียว น่าทานมากๆ แถมยังเป็นผลไม้ของดีขึ้นชื่อของบ้านนาสาร อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี

อ.บ้านนาสาร เป็นพื้นที่ที่มี "ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ" ใต้พื้นดินประกอบด้วยแร่บนดินมีผลไม้เงาะพันธุ์ต้นแรกของประเทศไทย ประวัติความเป็นมาของเงาะพันธ์อร่อยเลื่องชื่อนี้ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2480 นายเคหว่อง เป็นชาวปินัง ได้เดินทางมาทำกิจการเหมืองแร่ดีบุก ที่ อ.บ้านนาสาร โดยทำเหมืองที่บ้านเหมืองแกะและที่บ้านขุนทองหลาง พักอาศัยอยู่ริมทางรถไฟ(ซึ่งปัจจุบันเป็นโรงเรียนนาสาร) นายเคหว่อง ได้นำเงาะพันธุ์พื้นเมืองของปินังมานั่งรับประทานแล้วได้ทิ้งเมล็ดไว้(เงาะปินัง ผลใหญ่ ลักษณะทรงรี เปลือกหนา มีผลสีแดงเข้ม ไม่หวาน)ด้วยเหตุของดินที่ดีและมีความชุ่มชื้นอุณหภูมิพอเหมาะ ทำให้เมล็ดที่ถูกทิ้งไว้งอกขึ้นมาประมาณ 3 ต้น เมื่อ นายเคหว่อง เลิกกิจการเหมืองแร่ ได้ขายบ้านพักพร้อมที่ดินให้กับทางราชการสมัยนั้นราคาประมาณ 1,200 บาท ต่อมาทางราชการได้ตั้งเป็นโรงเรียนชื่อโรงเรียน "นาสาร" โดยมี ครูแย้ม พวงทิพย์ เป็นครูใหญ่ ต้นเงาะทั้ง 3 ต้น ได้เจริญงอกงามใหญ่โตขึ้นจากดินที่อุดมสมบูรณ์และต่อมาได้ออกดอกติดผลจำนวนต้นเงาะทั้ง 3 ต้น มีอยู่ต้นหนึ่งผลของเงาะมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย ซึ่งแตกต่างจากพันธุ์อื่นจึงนำไปให้กับพี่น้องชาวนาสารปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ และได้ขยายพันธุ์ไปยังจังหวัดต่างๆ โดยตั้งชื่อจากแหล่งกำเนิด คือโรงเรียนนาสาร จึงใช้ชื่อว่า " เงาะโรงเรียน"

ในปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายชัช อุตตมางกูร ผู้นำชาวสวนเงาะได้ทูลเกล้าฯถวายผลเงาะโรงเรียน และขอพระราชทานชื่อพันธุ์เงาะนี้เสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ชื่อเงาะโรงเรียนดีอยู่แล้ว" ตั้งแต่นั้นมาเงาะพันธุ์นี้จึงได้ชื่อว่า เงาะโรงเรียน อย่างเป็นทางการ เพื่อความเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดงาน วันเงาะโรงเรียน ขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคมของทุกปี ณ ริมคลองฉวาง อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี กิจกรรมทัวร์สวนผลไม้ ประกวดเงาะโรงเรียนและผลิตผลทางการเกษตร การประกวดธิดาเงาะโรงเรียน การออกร้านนิทรรศการด้านการเกษตร

โดยจัดมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
- การประกวดขบวนแห่รถพฤกษชาติของชุมชน/ตำบล และหน่วยงานต่างๆ
- การประกวดผลผลิตเงาะโรงเรียน/สวนผลไม้ และผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ
- การประกวดการจัดกระเช้าผลไม้, สัตว์เศรษฐกิจ, นกกรงหัวจุก, แข่งขันกินเงาะ
- นิทรรศการทางการเกษตร/การเสวนาทางวิชาการและการแสดงนวัตกรรมใหม่ๆ
- การประกวดธิดาเงาะโรงเรียน และขวัญใจชาวสวน
- การจำหน่ายสินค้า OTOP/มหรสพพื้นบ้าน และการแสดงของศิลปิน/ดารามากมาย
- กิจกรรมทางการท่องเที่ยว/แข่งขันจักรยานเสือภูเขา/ทัวร์สวนผลไม้

อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี

Buffalo Fighting Samui (สนามชนควาย สมุย) (MaeNam)
ราคา: 80 ถึง 400 Baht

กีฬาชนควายเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะในท้องที่อำเภอเกาะสมุยเป็นที่นิยมกันมากและมีลักษณะคล้ายกับกีฬาชนวัวของจังหวัดสงขลา
การชนควายเริ่มมีขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบแต่ว่าสมัยที่เกาะสมุยขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ที่เกาะนี้มีควายมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การที่ราษฎรเห็นควายเพริดเที่ยวชนกัน ขวิดกัน จึงน่าจะเป็นต้นเค้าของการนำควายมาชนกันเกิดเป็นกีฬาชนควายอย่างเช่นปัจจุบัน

ต.แม่น้ำ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 84330


"ประเพณีชักพระหรือลากพระ"

จังหวัดสุราษฏร์ธานีได้มีงานประเพณีชักพระหรือลากพระ อาจจะเรียกว่างานบุญเดือน 11 ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับเทศกาลออกพรรษา  ซึ่งทางจังหวัดสุราษฎรธานีได้จัดงานอย่างยิ่งใหญ่เป็นประจำของทุกปี ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11 และได้จัดให้มีการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานฯ ณ ริมแม่น้ำตาปีขึ้นด้วยนักท่องเที่ยวจะได้พบกับการจัดทำพุ่มผ้าป่าและเรือพนมพระซึ่งมี “หนึ่งเดียวในโลก”









เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและสร้างความสามัคคี ให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมสืบทอดประเพณีอันดีงาม ให้ยั่งยืนสืบไป มีการประกวด "เรือพนมพระ" ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีหนึ่งเดียวในโลก ในส่วนของ "รถพนมพระ" จะเป็นการประกวดชิงถ้วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี  นอกจากนี้  ยังมีการสืบสานประเพณี  ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย
และอีกหนึ่งบรรยากาศที่ท่านจะได้สัมผัสคือความสนุกสนานของขบวนลาก "เรือพระบก" ซึ่งในแต่ละขบวนจะมีการละเล่นที่ต่างกันออกไปเพื่อเพิ่มความสนุกและคึกคักและสวยงามโดยเดิมทีจะมีตัวไม้ใหญ่ 2 อัน วางรองเป็นที่ฐานบุษบกเพื่อใช้ลากพระ ในปัจจุบันได้ใช้รถยนต์แทนในการลากพระบก ส่วน "เรือพระน้ำ" จะเป็นแพโดยใช้เรือ 1-3 ลำ เป็นที่ตั้งของแพสำหรับลากไปในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล
"การทำพุ่มผ้าป่า"
ได้เกิดขึ้นควบคู่กันมาช้านานกับประเพณีชักพระ จนเรียกติดปากกันว่า"ประเพณีชักพระทอดผ้าป่า"ซึ่งในวันรุ่งขึ้นจะมีการลากเรือพระของจังหวัด ซึ่งแต่ละวัดในจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะนำเรือพระเข้ามายังอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และได้มีการจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่ ประเพณีนี้เป็นพิธีหนึ่งทางพุทธศาสนาที่กระทำต่อกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแต่ในสมัยนั้นการทอดผ้าป่าจะไม่ได้มีกำหนดเวลาแล้วแต่ใครมีศรัทธาจะทำเมื่อไรก็ทอดเมื่อนั้น
แต่ในบรรจุบันชาวบ้านจะออกมาจัดพุ่มผ้าป่าไว้ที่หน้าบ้านของตนโดยใช้ต้นไม้หรือกิ่งไม้ปักไว้อย่างสวยงามตั้งแต่หัวค่ำของคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 นอกจากจะมีต้นไม้หรือกิ่งไม้ไว้แล้วจะมีผ้าเหลือง 1 ผืน ห้อยไว้และมีสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับพระภิกษุ  นำมาผูกไว้ที่กิ่งไม้ด้วย เช่น ปิ่นโต ธูป เทียน ยาสีฟัน ไม้ขีด น้ำมัน และยังจัดเป็นซุ้ม ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ชาดก สวรรค์ นรก และอื่นๆ อย่างวิจิตรงดงามส่วนผู้ที่มีทุนน้อยก็จะจัดตามกำลังทรัพย์ของตน ซึ่งชาวบ้านจะทำขึ้นด้วยความเต็มใจและถือว่าเป็นการสานต่อวัฒนธรรมให้คงอยู่สืบทอดประเพณีดีๆ ให้ดำรงมาถึงปัจจุบัน





"ประเพณีทำบุญเดือนสิบ" เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของคนใต้  ที่ถือปฏิบัติกันมายาวนานตั้งแต่โบราณมีขึ้นในช่วงกลางเดือนสิบ ประมาณเดือนกันยายน ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ-วันแรม 15 ของทุกปี หรือเรียกกว่า "วันรับ-ส่งตายาย" ซึ่งถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ดีทั้งที่อยู่กันต่างที่ต่างภูมิลำเนาและยังแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

"วันรับตายาย" จะตรงกับแรม 1 ค่ำเดือน 10 วันนี้ชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน  ก็จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อมาแสดงถึงความกตัญญูแล้วยังทำพี่น้องได้พบปะสังสรรค์กันด้วย

"วันส่งตายาย" จะตรงกับแรม 15 ค่ำเดือน 10 วันนี้จะมีความสำคัญพอกัน แต่ในวันส่งตายายจะจัดเตรียมอาหารคาวหวาน ต่างๆ เป็นพิเศษ พร้อมของใช้ในครัวเรือนเพราะว่าชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีเชื่อว่าตายายจะนำกลับไปใช้ด้วย

"พิธีกรรม"
มีการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า นำอาหารถวายพระ ใส่บาตร แล้วยังอาหารอีกส่วนหนึ่งไปวางบนร้าน ที่เรียกกันว่า ร้านเปรตซึ่งสร้างแบบยกพื้นขึ้นมากลางลานวัด เพื่อให้ชาวบ้านและเด็กๆ เข้าแย่งอาหารหรือที่เรียกว่าชิงเปรตกัน

"ขนมที่นิยมทำกันในเดือน 10"
ขนมลา ขนมกรุบ ขนมจู้จุน ขนมบ้า ขนมไข่ปลา ยาหนม ขนมพอง ขนมต้ม และผลไม้ต่างๆ แล้วแต่ละท้องที่
หลังจากทำบุญกันในตอนเช้าเสร็จพิธีแล้วก็จะมีการบังสกุลบรรพบุรุษเป็นอันเสร็จพิธี





"สารทเดือนสิบ"
ประเพณีนี้มีจัดขึ้นในทุกท้องถิ่นทั่วไทย แต่ได้มีการเรียกชื่อต่างกันไปตามพิธีกรรมและวัฒนธรรมของแต่ละภาค
-  ภาคเหนือ เรียก กินก๋วยสลาก/ทานก๋วยสลาก/ตานก๋วยสลาก/ตานสลาก/กิ๋นข้าวสลาก
-  ภาคอีสาน เรียกบุญข้าวสากหรือข้าวสลาก
-  ภาคกลาง เรียก สลากภัตรและสลากกระยาสารท
-  ภาคใต้ เรียก ประเพณีทำบุญเดือนสิบ หรือรับ-ส่งตายาย
"งานวันเงาะโรงเรียน"

จังหวัดสุราษฎร์ธานียังถือเป็นถิ่นกำเนิดของ “เงาะโรงเรียน” ที่มีทั้งรูปลักษณ์ สีสันสวยงาม รสชาติดี มีความหวาน หอมกรอบเนื้อล่อน ที่ใครๆ ต่างยกย่องให้เป็นเจ้าหญิงแห่งผลไม้ จนได้เป็นหนึ่งในคำขวัญประจำจังหวัดที่ว่า "เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ" งานวันเงาะโรงเรียน จะจัดขึ้นประมาณต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี เงาะโรงเรียนซึ่งถือว่าเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางจังหวัดได้จัดงานเพื่อนำผลิตผลเงาะโรงเรียนและผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ มาจัดแสดงและจำหน่ายแก่ผู้สนใจ นอกเหนือจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมและนิทรรศการทางการเกษตร การแสดงของสุนัขสงคราม กองบิน 71 การแข่งขันลิงขึ้นมะพร้าว การประกวดนกเขาใหญ่ การแข่งขันจักรยานสามล้อ การประกวดธิดาเงาะ การประกวดรถประดับด้วยผลเงาะและผลไม้ที่มีคุณภาพของทางจังหวัดอีกหลากหลายชนิด




"กีฬาพื้นเมือง กีฬาชนควาย"

กีฬาชนควายเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยเฉพาะในท้องที่อำเภอเกาะสมุยเป็นที่นิยมกันมากและมีลักษณะคล้ายกับกีฬาชนวัวของจังหวัดสงขลาการชนควายเริ่มมีขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ทราบแต่ว่าสมัยที่เกาะสมุยขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราชที่เกาะนี้มีควายมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้การที่ราษฎรเห็นควายเพริดเที่ยวชนกัน ขวิดกัน จึงน่าจะเป็นต้นเค้าของการนำควายมาชนกันเกิดเป็นกีฬาชนควายอย่างเช่นปัจจุบัน


"การเลี้ยงควายชน"

จะต้องเลี้ยงดูอย่างพิถีพิกันเช่นเดียวกับการเลี้ยงวัวชน ควายต้องได้ออกกำลังสม่ำเสมอ ได้กินอาหารที่มีประโยชน์ และจะต้องได้มีโอกาสฝึกชนในบางครั้ง นอกจากนี้จะต้องระมัดระวังไม่ให้ใครเข้าใกล้ โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้ามในระยะเวลาใกล้ๆจะถึงเวลาที่จะชน เพราะอาจจะมีผู้วางยาทำให้เสียควายได้ ก่อนการชนจะมีการเปรียบคู่ชน โดยเจ้าของควายทั้งสองจะต้องไปดูควายของฝ่ายตรงข้าม หากไม่ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันมากก็จะยินยอมให้ชนกันได้แต่เดิมการชนควาย ชนกันหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว สนามชนควายก็คือนาข้าวนั่นเอง ส่วนใหญ่จะนัดชนกันในโอกาสงานประจำปีของวัดต่างๆ หรืองานตรวจเลือกทหาร แต่ในปัจจุบันการชนควายในสนามทุ่งนาหมดไป เนื่องจากมีผู้เปิดบ่อนชนควายขึ้นซึ่งชนกันได้ทุกฤดูกาลเมื่อใกล้ถึงวันจะชน การดูแลรักษาควายจะต้องพิถีพิถันมากยิ่งขึ้น เจ้าชองต้องนำควายไปเลี้ยงดูใกล้ๆกับสนาม เมื่อถึงเวลาชนจะมีหมอไสยศาสตร์ของแต่ละฝ่ายทำพิธีกันอย่างเอาจริงเอาจัง พิธีจะหมดสิ้นลงเมื่อปล่อยควายเข้าชนกันแล้ว การชนจะยุติลงเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแพ้วิ่งหนีออกจากสนามความเชื่อเกี่ยวกับ ควายชนก็เหมือนๆกับวัวชน คือเชื่อเรื่องลักษณะของควายที่มีลักษณะต้องตามตำราว่าจะได้เปรียบควายคู่ชน ที่มีลักษณะด้อยกว่า และควายที่มีลักษณะดีจะนำความเป็นศิริมงคลมาสู่ผู้เลี้ยง นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออื่นๆอีกมากการชนควายมีชนกันทั่วไปในอำเภอที่มีการ ทำนาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่ที่มีชนกันอย่างเป็นล่ำเป็นสันก็เฉพาะที่อำเภอเกาะสมุยเท่านั้น

ไปยังเว็บใหม่ t-Globe?
ลงทะเบียนสมาชิกเพื่อได้รับข้อมูลทุกอย่างในเว็บไซด์
ชื่อ
อีเมล์
รหัสผ่าน
ยืนยันรหัสผ่าน

สมาชิกที่ลงทะเบียนจะสามารถ:
  • การใช้งานเชิงโต้ตอบt-Maps
  • ดูธุรกิจละแวกใกล้เคียง
  • พิมพ์ คู่มือท่องเที่ยวรูปแบบไฟล์ PDF
  • ได้รับคูปองส่วนลดสำหรับโรงแรมร้านอาหารและบริการอื่น ๆ
  • จดบันทึก และบันทึกข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
  • ติดตามการเยี่ยมชมหน้าเว็บ