จังหวัดราชบุรี
Destination: Ratchaburi
Hotel >>
Hotel >>
เมื่อคุณมีการขนส่งของคุณเอง ต่อไปนี้เป็นสองตัวเลือกของโรงแรม
Hotel >>
Western Grand Hotel (โรงแรม เวสเทิร์นแกรนด์) (Ratchaburi) โรงแรมเวสเทิร์นแกรนด์เป็นโรงแรมค่อนข้างดีในระดับหนึ่ง ตั้งอยู่ใกล้ใจกลางเมือง 105/1 ถนนเพชรเกษมเก่า, ต.หน้าเมือง, อ.เมืองราชบุรี, ราชบุรี 70000 Tel.: 032-337777 , 032-313888 - Fax.: 032-320123 Hotel >>
Bakery >>
Museum >>
Ratchaburi National Museum (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี) (Ratchaburi) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2502 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 204 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 อันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม 2534 อาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวร แต่เดิมเป็นศาลาว่าการรัฐบาลมณฑลราชบุรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2465 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยใช้เป็นทั้งที่ว่าการเมืองราชบุรีและที่ว่าการมณฑลราชบุรีในสถานที่เดียวกัน ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เมื่อมีการประกาศยกเลิกระบอบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล และมีการจัดระเบียบการปกครองขึ้นใหม่เป็นจังหวัดและอำเภอ อาคารหลังนี้ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนให้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดราชบุรีตามลำดับ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2524 จึงได้มีการย้ายไปใช้ศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังใหม่ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้จัดสร้างขึ้นที่บริเวณถนนสมบูรณ์กุล อันเป็นสถานที่ตั้งปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2530 กรมศิลปากรโดยกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ปัจจุบันเป็นสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ) ก็ได้เริ่มเข้าใช้อาคารศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเดิมเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี โดยจัดส่งเจ้าหน้าที่มาประจำการ เพื่อประสานงานกับทางจังหวัดและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการปฏิบัติงานด้านการสำรวจและเก็บข้อมูลทางด้านวิชาการในพื้นที่ การปฏิบัติงานทางด้านการจัดทำ คัดเลือก และรวบรวมศิลปโบราณวัตถุสำหรับการแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคาร และการปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการเปิดเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ให้บริการอย่างเป็นทางการ โบราณวัตถุที่สำคัญ เช่น โครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ กว้าง 50 เซนติเมตร สูง 180 เซนติเมตร อายุ 3,000 - 2,000 ปีมาแล้ว พบที่แหล่งโบราณคดีโคกพลับ ตำบลโคกพลับ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เทวรูปพระอิศวร ศิลปทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 กว้าง 70 เซนติเมตร สูง 120 เซนติเมตร หนา 20 เซนติเมตร ทำจากหินทราย พบที่วัดเขาเหลือ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เศียรพระพุทธรูป ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 14 กว้าง 40 เซนติเมตร สูง 62 เซนติเมตร หนา 45 เซนติเมตร ทำจากหินทราย พบที่วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ใบเสมา ศิลปะอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 19 - 20 กว้าง 48 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร หนา 17 เซนติเมตร ทำจากหินทราย พบในบริเวณจังหวัดราชบุรี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ศิลปะลพบุรี พุทธศตวรรษที่ 18 กว้าง 80 เซนติเมตร สูง 180 เซนติเมตร หนา 35 เซนติเมตร ทำจากหินทราย พบที่บริเวณโบราณสถานจอมปราสาท เมืองโบราณโกสินารายณ์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พระแสงราชศาสตราประจำมณฑลราชบุรี ศิลปะรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2459 ยาวรวมด้ามและฝัก 103 เซนติเมตร ตัวพระแสงเป็นเหล็ก ด้ามและฝักทองคำลงยาราชาวดี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พระราชทานเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2459 การจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคาร จะเน้นเรื่องราวของท้องถิ่นตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งนี้ของกรมศิลปากร ที่ต้องการตอบสนองความต้องการของชุมชนในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ใช้เป็นศูนย์ศึกษาอนุรักษ์ และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจทางด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ ตามแนวทางการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑสถานสมัยใหม่ โดยจัดแสดงทั้งทางด้านธรณีวิทยา โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ วัฒนธรรมพื้นบ้าน ชาติพันธุ์วิทยา และแหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมและธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัด ซึ่งได้แบ่งเรื่องราวออกตามลักษณะของห้องจัดแสดงรวมทั้งสิ้น 10 ห้องจัดแสดง ดังนี้ ห้องจัดแสดงที่ 1 (ธรณีวิทยา) จัดแสดงแหล่งกำเนิดทรัพยากรธรรมชาติประเภทดิน หิน แร่ และรูปจำลองด้านภูมิประเทศของจังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง (กาญจนบุรีและเพชรบุรี) โดยมีตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์ หิน แร่ อัญมณี และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีกำเนิดในจังหวัดราชบุรีจัดแสดงประกอบ ห้องจัดแสดงที่ 2 (ก่อนประวัติศาสตร์) จัดแสดงร่องรอยหลักฐานของมนุษย์ในยุคแรกๆ ที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยในบริเวณจังหวัดราชบุรี โดยใช้โบราณวัตถุที่พบในจังหวัด เป็นต้นว่า เครื่องมือหิน และโลหะ ภาชนะดินเผา กลองมโหระทึก เครื่องประดับจากหินสีและโลหะ และโครงกระดูกมนุษย์ ประกอบคำบรรยาย สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงชีพ และการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนภายนอก ทั้งดินแดนใกล้เคียงและดินแดนที่อยู่ไกลออกไป (เช่น จีน อินเดีย ฯลฯ) ห้องจัดแสดงที่ 3 (ทวารวดี) จัดแสดงร่องรอยของวัฒนธรรมทวารวดีที่พบในจังหวัดราชบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 - 15 โดยเฉพาะเรื่องราวของเมืองโบราณคูบัวและเทือกเขางูที่เป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งการจัดแสดงมีทั้งการใช้โบราณวัตถุ คำบรรยาย และรูปจำลองฐานโบราณสถานสำคัญของเมืองโบราณคูบัว เป็นสื่อสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เข้าชม ห้องจัดแสดงที่ 4 (ลพบุรี) จัดแสดงร่อยรอยหลักฐานของวัฒนธรรมเขมร หรือที่นักวิชาการชาวไทยนิยมเรียกกันว่า "ลพบุรี" ที่ปรากฏในจังหวัดราชบุรี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีทั้งหลักฐานทางด้านโบราณคดีที่พบจากเมืองโบราณราชบุรี ที่มีพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นศูนย์กลางเมือง และพบจากเมืองโบราณโกสินารายณ์ ในท้องที่อำเภอบ้านโป่ง ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญ ที่มีการพบร่อยรอยหลักฐานของวัฒนธรรมเขมร และพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร เปล่งรัศมี พบที่บริเวณจอมปราสาท เมืองโบราณโกสินารายณ์ อันเป็นจำนวน 1 ใน 5 องค์ มีการพบในดินแดนประเทศไทย ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ภายใน ห้องจัดแสดงที่ 5 (อยุธยา) จัดแสดงเรื่องราวของจังหวัดราชบุรีในช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยา (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 18 - 24) ซึ่งชื่อของเมืองราชบุรีมีปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 (จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช) รวมทั้งดำรงฐานะเป็นเมืองท่าสำคัญด้านตะวันตกและเมืองหน้าด่านปราการชั้นในของกรุงศรีอยุธยา ที่เคยเป็นสมรภูมิรบกับพม่าตลอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ อันสะท้อนให้เห็นได้จากงานศิลปกรรมประเภทต่างๆ ที่ยังหลงเหลือร่องรอยให้ศึกษาได้ และในห้องนี้ได้มีการจัดทำฉากจำลองโบราณวัตถุประเภทเครื่องปั้นดินเผาชนิดต่างๆ ที่จมอยู่ใต้ลำน้ำแม่กลอง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เข้าชมในเรื่องราวของเมืองราชบุรี ที่เคยเป็นเมืองท่าสำคัญด้านทิศตะวันตกของกรุงศรีอยุธยาด้วย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี ตั้งอยู่ริมถนนวรเดช ตำบลหน้าเมือง ใกล้กับหอนาฬิการิมแม่น้ำแม่กลอง อาคารพิพิธภัณฑ์เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดมาก่อน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2431 จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับราชบุรีในทุกด้าน อาทิ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา ธรณีวิทยา ศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ยกเว้นวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท (เด็กเข้าชมฟรี) ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 032-321513 ที่มาจาก http://www.thailandmuseum.com พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี ตั้งอยู่ริมถนนวรเดช ตำบลหน้าเมือง ใกล้กับหอนาฬิการิมแม่น้ำแม่กลอง อาคารพิพิธภัณฑ์เคยใช้เป็นศาลากลางจังหวัดมาก่อน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อปี พ.ศ.2431 จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับราชบุรีในทุกด้าน อาทิ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา ธรณีวิทยา ศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. ยกเว้นวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท (เด็กเข้าชมฟรี) ชาวต่างประเทศ 30 บาท สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 032-321513 ที่มาจาก http://www.thailandmuseum.com |
ไปยังเว็บใหม่ t-Globe?
ลงทะเบียนสมาชิกเพื่อได้รับข้อมูลทุกอย่างในเว็บไซด์
สมาชิกที่ลงทะเบียนจะสามารถ: |
|